3 กรกฎาคม 2557

การกู้เงินธนาคาร เพื่อทำธุรกิจ

การกู้เงินธนาคาร เพื่อทำธุรกิจสำหรับธุรกิจรายย่อย

การกู้เงินเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง กับ เรื่องราวดีจาก ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อยฯ มิตรแท้ SMEs

เงินทุนใน "การทำธุรกิจ" มักเป็นปัจจัย แรกๆ สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มอยากที่จะมีธุรกิจเล็กๆเป็นของตัวเอง บางคนก็มีไอเดียดีๆ มีพรสวรรค์ มีความสามารถ และ มีความคิดดีๆที่จะเริ่มธุรกิจของตัวเอง ซึ่งเป็นปัจจัยแรก และเป็นอุปสรรค ไม่เบา หรืออาจเรียกได้ว่า  ทุกอย่างพร้อมนะ ขาดแต่เงินลงทุน ธนาคาร จึงกลายเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ คนที่จะทำธุรกิจ นึกถึง ซึ่งในอดีต ภาพลักษณ์หรือเรื่องราวของการทำเรื่องขอกู้เงิน ธนาคาร อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ทำให้หลายคนวิตกกังวล แต่ในปัจจุบัน การกู้เงินธนาคาร กลับกลายเป็นเรื่องที่ง่ายและสอบถามข้อมูลผ่านช่องทางการให้บริการอื่นๆได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งหลายธนาคารมีการปรับปรุง
ลดขั้นตอนการขอกู้เงิน เพื่อการลงทุนทำธุรกิจให้ง่ายมากขึ้น และมีข้อเสนอดีๆ ที่มอบให้กับลูกค้าอยู่เสมอ แต่...การที่จะกู้เงิน ธนาคารนั้น ก็ควรจะต้องเตรียมความพร้อมสักนิด เพื่อให้ขั้นตอนการดำเนินการขอกู้เงินนั้น เป็นไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว เพื่อให้ การกู้เงินธนาคาร เพื่อลงทุนทำธุรกิจของท่านนั้นได้รับการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ ตามที่ท่านได้ตั้งใจไว้ เป็นทุนในการลงทุน ทำธุรกิจ ในฝัน ตามที่ท่านต้องการ เรามาเรียนรู้วิธีการต่างๆ ดังนี้ กันนะคะ เผื่อบางที ท่านอาจได้รับการตอบรับ หรือ ธนาคาร ที่ท่านยื่นกู้เงิน ต้องการ Feed back จากท่าน

มาเริ่มกันที่ข้อแรก เลยนะคะ
1) รู้ลึกรู้จริงเรื่องธุรกิจ ที่จะลงมือทำ  (รู้ตัว)
ผู้ที่จะขอกู้เงิน จำเป็นต้อง รู้ลึก รู้จริงใน ธุรกิจ ที่ตัวเองกำลังจะเริ่มต้น รู้ว่า ท่านมีความเก่งด้านไหน ถนัดอะไร รู้ว่า จะขายอะไร รู้ว่า จะเอาสินค้าเหล่านั้น มาจากนั้น รู้ว่า คุณจะเอาสินค้าไปขายให้ใคร และสุดท้าย รู้หรือยังว่า ธุรกิจของคุณที่กำลังจะเริิ่มนี้ มีคู่แข่งในตลาดมากน้อยเพียงใด  และผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์ ตัวเองให้ดี ว่า จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และวิกฤต ของตัวเอง นั้น เป็นอย่างไร  หรือที่เรียกกันว่า SWOT Analysis นั่นเอง ซึ่งทาง ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อยฯ ได้เตรียมข้อมูลให้ท่านได้ศึกษา ตาม ลิงค์ นี้ http://goo.gl/zKo1PF ผู้ที่จะกู้เงิน ต้องเตรียมตัวให้ดี ข้อมูลให้แน่น และที่สำคัญ ความสามารถในการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย คืนได้ตามจำนวน และระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งธนาคาร ให้ความสำคัญมาก ในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ ให้กับ ผู้ที่ประสงค์จะกู้เงิน
สำหรับผู้ที่จะ
กู้เงิน สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งซึ่งไม่ควรมองข้าม คือ การทำแผนธุรกิจ เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยส่วนมาก ผู้ขอกู้ทั้งหลายอาจมีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ ในการทำแผนธุรกิจประกอบการขออนุมัติ สินเชื่อธุรกิจ และ แผนธุรกิจถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญในการพิจารณาให้เงินกู้ทำธุรกิจ แต่ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด จึงไม่ควรไปจ้างใครทำแผนธุรกิจขึ้นมาขอกู้เงินธนาคาร แต่หัวใจที่สำคัญที่สุด ในการขอกู้เงินนั้น ผู้ที่จะขอกู้เงิน รู้จักธุรกิจที่กำลังจะเริ่มต้นมากเพียงใด และนำเสนอ ไปในแผนธุรกิจเพื่อให้เห็นถึงศักยภาพของธุรกิจของคุณ เพื่อให้ธนาคาร นำไปประกอบการพิจารณา สินเชื่อต่อคณะกรรมการ ที่จะพิจารณาให้สินเชื่อ (เงินกู้) กับ คุณตามที่คาดหวังไว้

2) วินัยทางการเงินที่ดี
การที่จะขอกู้เงินเพื่อทำธุรกิจ โดยส่วนมากธนาคาร จะพิจารณา จาก วินัยทางการเงินในระยะเวลา 3-7 ปี ของผู้ขอกู้ ที่จะนำมาเป็นเหตุผลในการพิจารณา สินเชื่อ หรือ อีกหนทางหนึ่ง ธนาคาร จะพิจารณาประวัติการทำธุรกิจ ของผู้กู้ที่ต้องทำธุรกิจมาอย่างน้อย 3 ปี ประวัติต้องไม่มีข้อมูลเสียหาย ในเครดิตบูโร ถ้าในกรณีที่มีการเกินวงเงินบ่อยๆ หรือ มีประวัติที่เสี่ยหาย ธนาคาร อาจพิจารณาให้สินเชื่อน้อยลง กว่าจำนวนที่ขอกู้  ดังนั้น หากจะมีแผนที่จะขอกู้เงินธนาคาร เพื่อทำธุรกิจ ควรตระหนักในการรักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด ... และไม่ควรให้มีประวัติหนี้เสีย  หรือผิดนัดการชำระเงินกับธนาคารใดๆ เพราะหากมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาการขอกู้เงิน และธนาคาร จำเป็นต้องป้องกันความเสี่ยงจากหนี้เสีย ที่อาจเกิดขึ้นจากการให้กู้เงินในอนาคต

3) ความสามารถในการชำระเงิน
การที่ธนาคาร จะพิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้ กับ ลูกค้านั้น ธนาคารจะมีการพิจารณาจาก ความสามารถในการชำระหนี้ ของผู้ขอกู้เงินเป็นสำคัญ ถึงแม้ ธนาคาร จะพิจารณาจากหลักทรัพย์ค้ำประกัน ในเบื้องต้นแล้ว แต่หากธุรกิจของผู้ขอกู้เงิน มีแนวโน้มที่จะมีผลประกอบการจากธุรกิจไปในทางที่ดี และ ธนาคารพิจารณาแล้ว พบว่า ความสามารถมีมากเพียงพอที่จะชำระเงินกู้ คืนแก่ ธนาคาร ซึ่ง ธนาคารอาจพิจารณาให้วงเงินกู้ ในจำนวนที่สูงขึ้น ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ สภาพคล่องทางธุรกิจ ที่จำนำมาซึ่งความสามารถในการชำระเงินคืน แก่ธนาคาร เป็นสำคัญ

4) การปฎิบัติตามเงื่อนไขของธนาคาร
สำหรับสินเชื่อเพื่อคนค้าขาย สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขอกู้เงิน ธนาคาร นั้น ทางธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) สนับสนุนเงินทุน สูงสุด 10 ล้านบาท ผ่อนนาน 10 ปี สินเชื่อธุรกิจแก่ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีศักยภาพเพียงแค่มีสินทรัพย์ไม่ ว่าจะเป็น บ้าน อาคาร สถานประกอบการ ห้องชุด ที่ดินเปล่า หรือทองคำ ก็นำมาเป็นหลักประกันได้  สำหรับข้อมูลอื่นเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จาก ที่ http://goo.gl/lM4rIH

สิทธิพิเศษสำหรับผู้ขอสินเชื่อ
สามารถขอวงเงินกู้เพิ่มได้สูงสุด 15% จากวงเงินกู้ที่ได้รับการอนุมัติ เพื่อนำไปชำระค่าเบี้ยประกันต่างๆ ค่าจดจำนองหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ

เอกสารประกอบการสมัคร

บุคคลธรรมดา
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัญชีเงินฝากที่ใช้หมุนเวียนในกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน หรือเอกสารอื่นที่แสดงแหล่งที่มาของรายได้
  • สำเนาเอกสารสิทธิหลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือใบอนุญาตปลูกสร้าง
นิติบุคคล
  • สำเนาหนังสือรับรอง / หนังสือบริคณห์สนธิ  /  บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น 
  • สำเนางบการเงินย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี
  • สำเนาบัญชีเงินฝากที่ใช้หมุนเวียนในกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
    หรือเอกสารอื่นที่แสดงแหล่งที่มาของรายได้
  • สำเนาเอกสารสิทธิหลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือใบอนุญาตปลูกสร้าง

1 กรกฎาคม 2557

การวิเคราะห์ศักยภาพตัวเอง ง่ายๆด้วย SWOT Analysis สำหรับ ธุรกิจรายย่อยและ ธุรกิจ SMEs

การวิเคราะห์ศักยภาพตัวเอง ง่ายๆด้วย SWOT Analysis  สำหรับ ธุรกิจรายย่อยและ ธุรกิจ SMEs
การทำ SWOT สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจรายย่อย และ ธุรกิจ SMEs เป็นขั้นตอนที่ ผู้ที่กำลังมองหาโอกาสในการเริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ วางรากฐานความมั่นคงในชีวิตให้กับตนเองและครอบครัวพึงกระทำ เพื่อศึกษาศักยภาพและสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะลงมือทำธุรกิจ ทั้ง ธุรกิจรายย่อย และ ธุรกิจเอสเอ็มอี( ธุรกิจ SMEs)
ผู้ประกอบการต้องดำเนินการเป็นอันดับแรกเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจที่จะทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ จุดแข็ง (S = Strengths) จุดอ่อน (W = Weaknesses) โอกาส (O = Opportunities) และอุปสรรค (T = Threats) ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลในทั้ง 4 เรื่องจะช่วยให้ผู้ประกอบการทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรายละเอียดของธุรกิจที่ตนเองกำลังจะเริ่มต้นลงทุนอย่างแท้จริง อันจะนำมากำหนดกรอบและวางแผนทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการวางแผนควรเป็นการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและระดมสมองตัดสินใจเพื่อให้ได้กรอบนโยบายและแผนการที่ดีที่สุดนั่นเอง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1 วิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths)
ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยภายในของผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย และ ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี(SMEs) ที่เป็นสภาพแวดล้อมภายในแต่ละธุรกิจที่ดี เช่น จุดแข็งทางด้านการเงิน จุดแข็งทางด้านการผลิต จุดแข็งทางด้านกำลังคนแรงงาน ที่ผู้ประกอบการธุรกิจจะนำไปสร้างเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดต่อไป
2 วิเคราะห์จุดอ่อน (Weaknesses)  
ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยภายในของผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย และ ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี(SMEs) ที่เป็นปัญหาที่เกิดสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ ซึ่งองค์กรไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ไม่ดี

3 วิเคราะห์โอกาส(Opportunities) ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอก ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย และ ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี(SMEs)  เอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
4 วิเคราะห์อุปสรรค (Threats)   
เป็นปัจจัยภายนอก ที่เข้ามาขัดจังหวะ หรือ เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย และ ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี(SMEs) จะต้องมีกลยุทธ์ในการขจัดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรค ของธุรกิจไม่ว่าจะเป็น ด้านนโยบายของรัฐ คู่แข่งรายใหม่ที่เกิดขึ้น การแข่งขันทางด้านราคา ของคู่แข่ง ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ธุรกิจของตนเอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยปัญหาภายนอกที่จะเข้ามาสร้างอุปสรรคแก่ธุรกิจ ให้ได้

ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) สนับสนุนเงินทุน สูงสุด 10 ล้านบาท ผ่อนนาน 10 ปี สินเชื่อธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีศักยภาพเพียงแค่มีสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็น บ้าน อาคาร สถานประกอบการ ห้องชุด ที่ดินเปล่า หรือทองคำ ก็นำมาเป็นหลักประกันได้  ข้อมูลเพิ่มเติม  www.tcrbank.com