ธนาคารเพื่อโอกาสการเข้าถึงแหล่งการเงินของคนไทย สร้างสรร ตั้งใจ ให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น
15 ธันวาคม 2554
ที่ตั้งสาขาธนาคาร ไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด(มหาชน)
View ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด(มหาชน) in a larger map
29 พฤศจิกายน 2554
เคล็ดการซื้อบ้านตอนที่ 6 : ตกแต่งบ้านอย่างมีความสุข
เมื่อเราดำเนินการจนได้บ้านมาแล้ว สิ่งแรก ๆ ที่คนทั่วไปจะทำคือตกแต่งบ้าน แต่จะตกแต่งอย่างไรให้มีความสุข และผูกพันเหมือนการแต่งงาน เรื่องนี้ไม่ยาก มีเคล็ดลับดังนี้
ขั้นที่ 1 ไม่ต้องรีบตกแต่ง เพราะบ้านที่ซื้อมา เราจะอยู่กันนาน ๆ มีเวลาตกแต่งต่อเติมไม่น้อยกว่า 10 ปี วันแรกที่เข้าบ้านใหม่ ให้ถ่ายรูปเก็บไว้ เพราะเมื่อเวลา 5 ปี ผ่านไป ข้าวของต่าง ๆ จะเต็มบ้าน และเมื่อ 10 ปี ผ่านไป อาจจะเข้าขั้นรก จนไม่รู้ว่า จะเอาของไปวางไว้ไหน จนไม่สามารถจำภาพวันแรกที่ย้ายเข้าบ้านได้เลย ดังนั้น การเร่งการตกแต่งบ้าน จะเป็นการเร่งความรกของบ้านมากยิ่งขึ้น
ขั้นที่ 2 วางแผนระยะยาวในการต่อเติม เพื่อประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการจริง ๆ เช่น เพิ่มพื้นที่ซักล้าง ต่อเติมห้องครัว ห้องเก็บของ เป็นต้น เหตุที่ต้องวางแผนเพื่อให้การต่อเติมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีบ้านหลายหลังที่อยากจะทำก็ทำ ออกมาบ้านเลยมีลายคล้าย ๆ ตุ๊กแก เลยทีเดียว
ขั้นที่ 3 ต้องตั้งหลักในการกำหนดสไตล์ของบ้านให้เหมาะกับกำลังทรัพย์ เพราะจะมีผลต่ออุปกรณ์ตกแต่ง และราคา มีหลายคนตั้งใจจะทำเป็นสไตล์บาหลี แต่แต่งได้แค่ห้องเดียว เงินไม่พอเลยสวยแค่ห้องเดียว
ขั้นที่ 4 กำหนดงบประมาณในแต่ละปีในการบำรุงรักษา ตกแต่ง ต่อเติม เนื่องจากกิจกรรมหล่านี้จะที่ใช้เงินเยอะ จึงต้องมีการตระเตรียมไว้อย่างชัดเจน
การที่ค่อยๆ ตกแต่งบ้าน โดยไม่กะทำให้เสร็จในครั้งเดียวจะทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกับบ้าน มีความหวงแหน ทำให้เอาใจใส่ดูแล บำรุงรักษาอยู่สม่ำเสมอ บ้านจะไม่โทรมเร็ว
แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ การตกแต่งบ้านไม่ควรใช้เงินกู้ เพราะจะกลายภาระที่เกินตัว เนื่องจากเราจะต้องเก็บเงินเพื่อการซ่อมแซมอยู่แล้วในอนาคต การตกแต่งด้วยการกู้จึงเหมือนกับเป็นการเร่งเอาอนาคตของบ้านมาใช้ในปัจจุบัน พอมีเหตุที่ต้องใช้เงินจริง ๆ อาจจะเกิดปัญหาไม่มีเงินสดสำรองในการซ่อมแซมบ้านก็ได้
เท่านี้ก็จะได้อยู่บ้านที่เราพอใจ และมีความสุข เมื่อใจมีความสุข โรคภัยไข้เจ็บก็จะไม่ค่อยมาเยือน
นายไทยเครดิต
นายไทยเครดิต
Facebook http://www.facebook.com/tcrbank
25 พฤศจิกายน 2554
เคล็ดการเลือกซื้อบ้านตอนที่ 5 เลือกธนาคารให้ถูกใจ
การเลือกซื้อบ้านตอนที่ 5 เลือกธนาคารให้ถูกใจ
คนที่มีเครดิตดีแล้ว มีโอกาสในการเลือกสถาบันการเงินได้มากกว่า
เมื่อตัดสินใจจะซื้อบ้านแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการตัดสินใจเลือกสถาบันการเงินที่เราจะทำธุรกรรมทางการเงิน แต่การเลือกสถาบันการเงินอย่างไรให้ถูกใจและมีความสุขในการผ่อนชำระนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกของท่าน
เมื่อมีโอกาสในการเลือกใช้สถาบันการเงินได้ ข้อแนะนำในการพิจารณาเลือกใช้สถาบันการเงินคือ
- โอกาสที่สถาบันการเงินจะอุนมัติวงเงิน
- ดอกเบี้ย (ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว) อย่าดูเฉพาะปีแรก แต่ให้ดูตลอดอายุสัญญา
- ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าประเมิน ค่าทำสัญญา
- เงื่อนไขอื่น ๆ ที่มีในการผ่อนชำระ เช่น ข้อห้ามการปิดบัญชี ข้อห้ามการผ่อนชำระเกินกำหนด
- สถานที่ชำระเงิน ความสะดวกสบาย ค่าธรรมเนียม
- การบริการลูกค้าหลังการขาย
เมื่อพิจารณาข้อเสนอต่าง ๆ รอบคอบแล้วจึงตัดสินใจเลือกธนคารที่คิดว่าเหมาะกับตนเอง แค่นี้ก็สามารถผ่อนชำระได้อย่างสบายใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
นายไทยเครดิต
Facebook http://www.facebook.com/tcrbank
เคล็ดการเลือกซื้อบ้านตอนที่ 3 เลือกอย่างไหนดีเอ่ย ?
"บ้านเดี่ยวมีบริเวณ เทียบกับชีวิตชิว ๆ ในคอนโดฯ"
เมื่อ... ตอนที่แล้ว เอาบ้านใหม่ หรือ บ้านมือสอง หลายท่านที่ติดตามอ่านน่าจะตัดสินใจได้บ้างแล้ว ว่าจะเลือกบ้านมือใหม่ หรือมือสอง
ในตอนนี้...เราจะมาลงรายละเอียดเรื่องการเลือกประเภทของบ้าน ประเภทของบ้านก็มีให้เลือกอีกหลายประเภทแตกต่างกันตามรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น...
บ้านเดี่ยว หมายถึงบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินที่ไม่มีผนังส่วนใดของบ้านเป็นผนังของบ้านอื่น เรียกว่า ตัวบ้านเป็นอิสระออกจากบ้านอื่น บ้านแบบนี้จะได้ความเป็นส่วนตัวมากที่สุด แต่ใช้ประโยชน์ในการใช้สอยน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับที่ดิน การสร้างบ้านจะมีอิสระมากที่สุดเพราะสามารถออกแบบอย่างไรก็ได้ ตามขนาดของที่ดิน
บ้านแฝด เป็นบ้านที่ต้องอยู่ติดกันเป็นคู่ ๆ มีผนัง 1 ด้านติดกันและบ้านจะมีหน้าตาเหมือนกัน 2 หลัง เพียงแต่กลับข้างกัน บ้านแบบนี้ความเป้นส่วนตัวจะน้อยลง มีพื้นที่ที่ต้องใช้ร่วมกันกับผู้อยู่อาศัยคนอื่น แต่ข้อดีคือ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี บ้านแบบนี้จะมีราคาถูกกว่าบ้านเดี่ยวอยู่พอสมควร
ทาวน์เฮ้า เป็นบ้านที่สร้างติดกันเป็นแผง จะมีผนัง 2 ข้าง (ซ้าย-ขวา) ที่เป็นผนังของบ้านอื่น มีโครงสร้างหลังคาในโครงสร้างเดียวกัน พื้นที่ใช้สอยไม่มาก ประมาณ 16-30 ตารางวา มักจะเป็นที่อยู่อาศัยราคาไม่แพงมาก ตั้งแต่หลักแสนถึง 3 ล้าน ความเป็นส่วนตัวก็จะลดลง เพราะมีคนมาอยู่เป็นเพื่อนทั้ง 2 ข้าง
อาคารพาณิชย์ บางคนเรียกว่าตึกแถว เพราะมีลักษณะเป็นตึกที่ตั้งเป็นแถวยาว มักจะสร้างอยู่ริมถนน เน้นการใช้งานเพื่อการค้าขายมากกว่าเป็นที่อยู่อาศัย ตึกแถวมักจะไม่ค่อยมีการออกแบบอะไรมากนัก ลักษณะจะเป็นตึกเหลี่ยม
โฮมออฟฟิศ เป็นบ้านกึ่งสำนักงาน เกิดจากการผสมผสานกันระหว่าง ทาวน์เฮ้าส์กับตึกแถว ออกแบบเพื่อให้สามารถเปิดเป็นสำนักงานด้านล่างได้ และสามารถใช้อยู่อาศัยด้านบน มีการออกแบบให้สวยงาม เน้นเรื่องที่จดรถ แต่ลักษณะจะสร้างเป็นแนวเช่นเดียวกับถึกแถวและทาว์นเฮ้า มีหลายชั้น 3-5 ชั้น เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยภายในเพิ่มขึ้น แต่ออาจะไม่อยู่ริมถนนก็ได้
คอนโดมีเนียม บางคนอาจจะเรียกว่าแฟลต ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน ต่างกันที่ คอนโดมีเนียม เป็นอเมริกัน แฟลต เป็น อังกฤษ มีลักษณะเป็นห้อง ๆ เจ้าของจะได้เอกสารสิทธิ์อาคารชุด ไม่ใช่โฉนด จะต้องมีกฎระเบียบการอยู่ร่วมกัน มีการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อใช้บริการพื้นที่ส่วนกลาง นิยมสร้างในพื้นที่ใกล้เมืองหรือจุดที่สามารถเดินทางได้สะดวก คนส่วนใหญ่อาศัยการโดยสารสาธรณะ เป็นที่อยู่อาศัยที่มีความเป็นส่วนตัวน้อยที่สุด มีพื้นที่ใช้สอยน้อยที่สุดทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยแบบต่าง ๆ ผู้ที่จะซื้อบ้านก็ให้เลือกเอาตามความต้องการของตนเองเป็นที่ตั้ง
เมื่อทราบรายละเอียดเรื่องการเลือกประเภทของบ้านแล้วคงตัดสินใจเลือกบ้านในฝันได้ไม่ยากอีกต่อไป
นายไทยเครดิต
Facebook http://www.facebook.com/tcrbank
22 พฤศจิกายน 2554
เคล็ดการเลือกซื้อบ้านตอนที่ 4 จะผ่อนไหวไหมเนี่ย ?
จะซื้อหลังนึง ก็ต้องเลือกให้ดีๆ หลังจากได้ทำเลแล้ว ลักษณะบ้านแล้ว ถึงตอนนี้ก็ต้องเลือกขนาดบ้าน และราคา ขั้นตอนนี้ต้องมาประเมินตัวเองแล้วว่า รายได้และรายจ่ายในแต่ละเดือนจะเหลือผ่อนได้แค่ไหน
ขั้นที่ 1 คำนวณเบื้องต้น คือ เอารายได้แบบแน่นอนเป็นสำคัญ คนที่มีเงินเดือนจะใช้เงินเดือน บวกรายได้พิเศษต่าง ๆ ที่เป็นประจำแน่นอน สำหรับรายได้ที่ไม่ประจำ ให้คิดจากรายได้ย้อนหลัง 6 เดือนมารวมกันแล้วหารด้วย 6 (คือการเฉลี่ยย้อนหลัง 6 เดือน)
คนที่มีรายได้จากการทำการค้า ให้นำกำไรสุทธิแบบที่แสดงได้ มาเฉลี่ยย้อนหลัง 6 เดือนเช่นกัน
*** กรณีผู้กู้ร่วมกันหลายคน ให้ทำรายการนี้ โดยคิดทีละคนของผู้ที่จะร่วมกันกู้ แล้วค่อยนำมารวมกัน(ข้ออื่นๆ ถัดไปก็ให้ทำในลักษณะเดียวกัน) ***
ขั้นที่ 2 หารายจ่ายประจำ โดยให้คิดค่าอาหารที่ต้องรับผิดชอบทั้งหมด รวมถึงผู้อยู่ในอุปการะทั้งหมด ค่าใช้จ่ายน้ำ-ไฟ-โทรศัพท์-โทรทัศน์-Internet-น้ำมันรถ-รถเมล์ ฯลฯ ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคเช่น น้ำยาซักผ้า อุปกรณ์ใช้ในบ้านต่าง ๆ สำหรับคนที่มีค่าเทอมลูก ตัวเอง หรือค่าอะไรก็ตามที่เป็นงวด ๆ ให้นำมาเฉลี่ยเป็นรายเดือนให้หมด แล้วนำรวมกัน
ขั้นที่ 3 ให้คิดเงินออม 10% ของรายได้ในขั้นที่ 1 โดย 10% นี้ คือค่าซ่อมแซมบ้าน 5% และค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน (เช่นค่ารักษาพยาบาล) อีก 5%
ขั้นที่ 4 เอาขั้นที่ 1 ลบ ขั้นที่ 2 ลบ ขั้นที่ 3 จะเหลือเงินสำหรับจ่ายค่างวดผ่อนบ้านขั้นต้น แล้วให้หักค่างวดผ่อนอื่นๆ ทุกชนิด และค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยรายเดือน เช่น ค่าอาหารหรู ๆ ค่าท่องเที่ยว ค่าซื้ออุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ จะได้เงินค่างวดสุทธิ
ขั้นที่ 5 นำผลลัพธ์ในขั้นที่ 4 ไปคูณด้วยอัตราดังนี้
- ถ้าผู้กู้อายุไม่เกิน 30 ปี คูณด้วย 120
- ถ้าผู้กู้อายุไม่เกิน 35 ปี คูณด้วย 100
- ถ้าผู้กู้อายุไม่เกิน 40 ปี คูณด้วย 90
- ถ้าอายุไม่เกิน 45 ปี คูณด้วย 80
ตัวเลขที่ได้ จะเป็นราคาบ้านโดยประมาณ ที่น่าจะสามารถซื้อและผ่อนชำระได้
นายไทยเครดิต
นายไทยเครดิต
Facebook http://www.facebook.com/tcrbank
เคล็ดการเลือกซื้อบ้านตอนที่ 2 บ้านเก่า-บ้านใหม่
"จะซื้อบ้านใหม่ก็แพง บ้านมืองสองก็โทรม เอาไงดีเนี่ย"
เมื่อตอนที่แล้ว ได้พูดถึงการเลือกทำเลในการซื้อบ้านไปแล้ว เมื่อได้ทำเลก็ต้องมาดูว่าจะซื้อบ้านใหม่ หรือ บ้านมือสองดี
การซื้อบ้านใหม่ จะมีข้อได้เปรียบคือ ได้ของใหม่ ถ้าเป็นของโครงการก็มีการรับประกันจากทางโครงการด้วย ได้แบบบ้านทันสมัย การดูแลรักษาในช่วงต้นน้อยกว่า
การซื้อบ้านใหม่ จะมีข้อได้เปรียบคือ ได้ของใหม่ ถ้าเป็นของโครงการก็มีการรับประกันจากทางโครงการด้วย ได้แบบบ้านทันสมัย การดูแลรักษาในช่วงต้นน้อยกว่า
แต่บ้านมือสองจะได้ทำเลที่ดีกว่าในราคาที่เท่ากัน เพราะราคาบ้านมือหนึ่งจากโครงการ จะถูกบวกค่าพัฒนาที่ดินเข้าไปด้วย บ้านมือสองได้เห็นสภาพแวดล้อมจริง รวมถึงเพื่อนบ้าน สภาพถนน สภาพน้ำท่วม ร้านค้า ปัญหาชุมชน ขยะ และอื่น ๆ จิปาถะ แต่ต้องยอมรับสภาพในการถูกใช้งานของเจ้าของเดิม อาจจะมีการซ่อมแซมก่อนเข้าอยู่จริง และใช้เวลาในการค้นหาที่นานกว่าซื้อจากโครงการ ต้องระวังเรื่องการย้อมแมวขาย
ปัญหาทางกฎหมายจะสามารถตรวจสอบได้จากเล่มประเมินในกรณีที่กู้จากธนาคาร หรือ จ้างบริษัทประเมินเอง ในกรณีที่ซื้อเงินสด เพื่อดูว่า ที่ดินอยู่ในแนวเวรคืน ติดปัญหาการโอน การถูกอาญัติทรัพย์หรือไม่ ถ้าติดปัญหาจะได้แก้ไขหรือเลือกบ้านหลังใหม่ได้ทันท่วงที
ดังนั้น ประเด็นเรื่องบ้านใหม่หรือบ้านมือ 2 ต้องตัดสินให้ดี ๆ เลือกแบบที่อยู่แล้วสบายใจ มีความสุขที่สุด
นายไทยเครดิต
Facebook http://www.facebook.com/tcrbank
การเลือกใช้บัญชีเงินฝาก
"เลือกเปิดบัญชี มีเยอะแยะ เลือกไม่ถูกเลย"
เมื่อไม่กี่วันนี้มีคนมาถามว่า จะใช้เปิดบัญชีเงินฝากประเภทไหนดี มีเยอะแยะไปหมดเลย ก็เลยต้องชวนให้ผู้ถามนั่งลงแล้วค่อยๆ คุยกัน เพราะการเลือกบัญชีเงินฝาก มีประเด็นที่ต้องคำนึงถึงหลายเรื่อง
เรื่องที่ 1 ทำความรู้จักกับบัญชีเงินฝาก บัญชีเงินฝากมีหลายประเภท ประเภทแรกเป็นประเภทที่ใช้กันเยอะ ๆ คือบัญชีออมทรัพย์ บัญชีประเภทนี้จะเป็นบัญชีที่สามารถฝากถอนได้ตลอดเวลา ดอกเบี้ยจะคิดเป็นรายวันตามจำนวนเงิน และจำนวนวันที่ฝากไว้ ไม่ต้องเสียภาษี ถ้าได้รับดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี
เรื่องที่ 1 ทำความรู้จักกับบัญชีเงินฝาก บัญชีเงินฝากมีหลายประเภท ประเภทแรกเป็นประเภทที่ใช้กันเยอะ ๆ คือบัญชีออมทรัพย์ บัญชีประเภทนี้จะเป็นบัญชีที่สามารถฝากถอนได้ตลอดเวลา ดอกเบี้ยจะคิดเป็นรายวันตามจำนวนเงิน และจำนวนวันที่ฝากไว้ ไม่ต้องเสียภาษี ถ้าได้รับดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี
เงินฝากประจำ เป็นเงินฝากที่มีระยะเวลาในการฝากแน่นอน จ่ายดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด (ซึ่งบางครั้งอาจจะมีให้ก่อนได้) แต่ถ้าฝากไม่ถึงระยะเวลาที่กำหนด จะไม่จ่ายดอกเบี้ยเลย หักภาษีดอกเบี้ยจ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ
เงินฝากกระแสรายวัน เป็นเงินฝากที่ไม่จ่ายดอกเบี้ย (หรืออาจจะมีบ้างอย่างของธนาคารไทยเครดิต) ไม่มีสมุดคู่ฝาก และใช้การถอนด้วยเช็ค ดอกเบี้นต้องเสียภาษี 15% ด้วย
เงินฝากปลอดภาษี เป็นเงินฝากที่กำหนดยอดฝากเท่า ๆ กันทุกเดือนตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น 24 เดือน 35 เดือน ได้รับดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด และไม่ต้องเสียภาษี แต่เงื่อนไขคือ จะต้องมียอดฝากทุกเดือนเท่า ๆ กัน จะเป็นวันไหนก็ได้ขอให้อยู่ในเดือน และ 1 คนมีได้ 1 บัญชีเท่านั้น ธนาคารจะทำเรื่องไปแจ้งสรรพากรว่าได้มีเงินฝากประเภทนี้อยู่
เรื่องที่ 2 ระยะเวลาการฝากเงิน เรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็นกว่าอัตราดอกเบี้ยเสียอีก เพราะบัญชีเงินฝากแต่ละประเภทมีสภาพคล่องที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการจัดเงินจะต้องเลือกให้สอดคล้องกับกระแสเงินของเจ้าของ ถ้าเป็นเงินที่ต้องหมุนเวียนบ่อย ๆ และต้องจ่ายโดยใช้เช็ค ควรจะเป็นกระแสรายวัน
ถ้าเป็นเงินที่เข้าออกบ่อยๆ ต้องการใช้บัตร ATM ควรจะเป็นออมทรัพย์ แต่ถ้าเงินก้อนอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ใช้อะไร ระยะเวลานานกว่า 3 เดือนขึ้นไป ควรจะใช้เป็นเงินฝากประจำ และถ้าต้องการเก็บเงิน โดยสามารถกันเงินออมได้ทุก ๆ เดือนเท่า ๆ กัน ควรจะเป็นเงินฝากปลอดภาษี
ถ้าเป็นเงินที่เข้าออกบ่อยๆ ต้องการใช้บัตร ATM ควรจะเป็นออมทรัพย์ แต่ถ้าเงินก้อนอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ใช้อะไร ระยะเวลานานกว่า 3 เดือนขึ้นไป ควรจะใช้เป็นเงินฝากประจำ และถ้าต้องการเก็บเงิน โดยสามารถกันเงินออมได้ทุก ๆ เดือนเท่า ๆ กัน ควรจะเป็นเงินฝากปลอดภาษี
เรื่องที่ 3 อัตราดอกเบี้ย เมื่อเราสามารถเลิอกประเภทได้แล้วให้มาเลือกอัตราดอกเบี้ยว่าควรจะเป็นของธนาคารไหน หรือระยะเวลาเท่าไหร่
ซึ่งเดี๋ยวนี้มีความหลากหลายของเงินฝากจนเริ่มคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกแล้ว เพราะเป็นขั้นบันได วิธีการคือ ให้คำนวนเป็นรายวัน โดยนำ (เงินต้นxอัตราดอกเบี้ย)/365 จะได้ดอกเบี้ยรับใน 1 วัน (ธนาคารนับแบบข้ามคืน) แล้ว x ด้วยจำนวนวันที่ได้รับอัตราดอกเบี้ยนั้นๆ ถ้าเป็นแบบขั้นบันได ให้คำนวณทีละขั้น แล้วนำมารวมกันเมื่อหมดระยะเวลาฝากเงิน จะได้เป็นดอกเบี้ยรับออกมา ทำแบบนี้เพื่อจะได้เห็นว่า เงินที่ได้รับเป็นเท่าไหร่เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน
ซึ่งเดี๋ยวนี้มีความหลากหลายของเงินฝากจนเริ่มคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกแล้ว เพราะเป็นขั้นบันได วิธีการคือ ให้คำนวนเป็นรายวัน โดยนำ (เงินต้นxอัตราดอกเบี้ย)/365 จะได้ดอกเบี้ยรับใน 1 วัน (ธนาคารนับแบบข้ามคืน) แล้ว x ด้วยจำนวนวันที่ได้รับอัตราดอกเบี้ยนั้นๆ ถ้าเป็นแบบขั้นบันได ให้คำนวณทีละขั้น แล้วนำมารวมกันเมื่อหมดระยะเวลาฝากเงิน จะได้เป็นดอกเบี้ยรับออกมา ทำแบบนี้เพื่อจะได้เห็นว่า เงินที่ได้รับเป็นเท่าไหร่เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน
เรื่องที่ 4 สถานที่ในการฝากถอน บางคนเดินทางตั้งไกลเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.5% ได้เงินมาอีก 200 บาท แต่เสียค่ารถไปกลับ 500 ไม่คุ้มกันเลย
เรื่องที่ 5 จำนวนเงินที่คุ้มครองจาก พรบ.สถาบันเงินฝาก ซึ่งวันที่ 11 สิงหาคม 54 -10สิงหาคม 55 จะคุ้มครอง 50 ล้านบาทต่อธนาคารต่อผู้ฝากเงิน และหลังจากนั้นไปจะคุ้มครอง 1 ล้านบาทต่อธนาคารต่อชื่อผู้ฝากเงิน (http://www.dpa.or.th/Main.aspx)
ในครั้งหน้า จะมาเล่าให้ฟังเรื่องบัญชีเงินฝาก กับ ตั๋วแลกเงินแตกต่างกันอย่างไร
นายไทยเครดิต
twitter @TCRBank
21 กรกฎาคม 2554
เคล็ดการเลือกซื้อบ้าน ตอนที่ 1 ทำเลไหน ที่ชีวิตลงตัว
"เลือกทำเลผิด อาจคิดจนตัวตาย"
ในการซื้อบ้านสักหลังมีสิ่งที่ต้องพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ทำเล ที่ตั้งของบ้าน
2. บ้านใหม่หรือมือสอง
3. ประเภทบ้าน
4. กำลังซื้อ และการผ่อนชำระ
5. สร้างเองหรือบ้านจัดสรร
6. ธนาคารที่จะเลือกใช้บริการ
7. การตกแต่งบ้าน
ในตอนนี้จะกล่าวถึงการเลือกทำเล หรือที่ตั้งของบ้านก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ต้องคิดตั้งแต่จังหวัด ว่าจะอยู่ที่จังหวัดไหน เขตหรืออำเภออะไร ถนนเส้นไหน ใกล้ไกลกับตลาดหรือแหล่งสาธารณูปโภคมากน้อยแค่ไหน
การเลือกทำเล จะหมายถึงการเดินทางไปทำงาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนรูปแบบการใช้ชีวิต ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการทำเลกลางเมือง เพื่อให้เดินทางได้สะดวก ใกล้หรือติดรถไฟฟ้า รูปแบบการใช้ชีวิตก็จะเป็นแบบเมือง อาจจะไม่ต้องใช้รถยนต์ในการเดินทาง
แต่ถ้าอยากได้ทำเลชานเมือง สงบ เรียบง่าย เรื่องการเดินทางก็จะลำบากขึ้น อาจจะต้องมีรถ หรือ มีรถสาธารณะที่เข้าถึงที่ทำงาน มีโรงเรียนให้บุตรหลาน โรงพยาบาล ตลาด
การเลือกทำเล จะหมายถึงการเดินทางไปทำงาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนรูปแบบการใช้ชีวิต ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการทำเลกลางเมือง เพื่อให้เดินทางได้สะดวก ใกล้หรือติดรถไฟฟ้า รูปแบบการใช้ชีวิตก็จะเป็นแบบเมือง อาจจะไม่ต้องใช้รถยนต์ในการเดินทาง
แต่ถ้าอยากได้ทำเลชานเมือง สงบ เรียบง่าย เรื่องการเดินทางก็จะลำบากขึ้น อาจจะต้องมีรถ หรือ มีรถสาธารณะที่เข้าถึงที่ทำงาน มีโรงเรียนให้บุตรหลาน โรงพยาบาล ตลาด
นอกจากเรื่องการใช้ชีวิต การทำงานแล้ว บางคนยังเลือกทำเลจากครอบครัวใหญ่ ก็เป็นอีกสาเหตุก็ได้ หมายถึง การต้องอยู่ใกล้กับพ่อแม่ ญาติ ๆ เพื่อสะดวกในการดูแล เยี่ยมเยียน ปัจจัยในการเลือกทำเลนี้เป็นปัจจัยแรกที่สุดในการเลือกบ้านสักหลัง เพราะจะเป็นตัวกำหนดเรื่องอื่น ๆ ตามมา ตั้งแต่ราคา รูปแบบบ้าน ประเภทของบ้าน ซึ่งจะกล่าวในตอนต่อ ๆ ไป
นายไทยเครดิต
Facebook http://www.facebook.com/tcrbank
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)